How Toทั่วไป

ต่อทะเบียนรถมอไซค์ จักรยานยนต์ (ยื่นจ่ายภาษี) พร้อมต่อ พรบ.

ต่อทะเบียนรถมอไซค์ จักรยานยนต์ หรือยื่นจ่ายภาษี พร้อม ต่อพรบ. นั้นไม่ได้มีหลายขั้นตอนอย่างที่คิด วันนี้ ridshare จะพาทุกท่านมาดูขั้นตอนการต่อทะเบียน พร้อมต่อ พรบ.

 

เคยเห็นใครต่อใครเวลาจะทำก็จะไม่อยากไปต่อ กลัวเสียเวลาทั้งวันบ้าง กลัวร้อนบ้าง กลัวนานบ้าง แต่ถ้าอ่านบทความนี้แล้ว เราจะจัดการชีวิตง่ายขึ้น เพราะทาง ridshare ได้แนะนำด้านล่างไว้หมดแล้ว เชฺิญผู้ชมมาอ่านได้เล๊ย

 

ก่อนอื่นเลย ต้องเข้าใจคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อน (สาระสักนิดนึงน่ะ)

  • ทะเบียนรถ คือ ป้ายที่บอกเลขทะเบียน เพื่อระบุว่ารถคันนี้มีเลขทะเบียนอะไร เป็นรถของใคร เป็นต้น
  • ภาษีรถ (ทุกประเภท) มีอายุ 1 ปี ดังนั้นเราต้องต่อภาษีรถทุกปี โดยสามารถต่อภาษีรถล่วงหน้าก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน
  • ตรอ. ย่อมาจาก สถานตรวจสภาพรถเอกชน ซึ่งมีไว้ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ก่อนเสียภาษีรถ (โดยถ้ารถจักรยานต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป และรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป จะต้องตรวจสภาพก่อน ถึงจะต่อภาษีรถได้ แต่ถ้าไม่ถึง ไม่ต้องตรวจสภาพครับผม)
  • พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ (แต่เรามักจะติดเขียนเป็น พรบ. อาจจะเผื่อความง่ายในการพิมพ์ ทาง ridshare ก็เช่นกันที่เขียน พรบ. ฮ่าๆ) ซึ่ง พรบ. จะคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใด แต่รถทุกคันต้อง ทำหรือต่อ พรบ. นั้นเอง เพราะเป็นกฎหมายบังคับ (คุ้มครองคนในรถ เมื่อเกิดอุบัติเหตุนั้นเอง)

พรบ. สำหรับ มอไซค์ มีแค่บริษัทเดียว คือ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

หาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้ที่ > กรมการขนส่งทางบก

 

ตรอ. ที่เราไปตรวจสภาพรถ บวกกับ ต่อ พรบ. จะมีสัญลักษณ์ แบบนี้

โลโก้ตรอ. - ต่อทะเบียนรถมอไซค์

 

หน้าตากระดาษที่ได้หลังจาก ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว

ป้ายภาษี - ต่อทะเบียนรถมอไซค์

 

* เวลาทำการ การต่อตรวจสภาพรถ และต่อ พรบ. ประมาณ 8.00 – 17.00 น. *

* เวลาทำการ การต่อภาษีของขนส่ง ประมาณ 7.30 – 15.30 น.  *

ดังนั้น ควรไปตั้งแต่ 10 โมง ครับ เพื่อให้มีเวลา ไม่ต้องรีบมากนัก

 

ต่อทะเบียนรถมอไซค์ ( ยื่นจ่ายภาษี ) พร้อม ต่อพรบ.

นั้น มี 2 แบบ
1. ต่อ พรบ. แล้วฝาก ยื่นจ่ายภาษีด้วย (แบบจ้าง)
2. ต่อ พรบ. แล้วไปยื่นจ่ายภาษีด้วยตัวเอง

*** ถ้าหากรถจักยานยนต์ มีอายุ 5 ปี ต้องตรวจสภาพรถ แต่ถ้าไม่ถึง 5 ปี ไม่ต้องตรวจสภาพรถ ***

 

ต่อพรบ แล้วไปยื่นจ่ายภาษีด้วยตัวเอง

1. ไป ตรอ. ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ

  • สิ่งที่ต้องนำไป :
  • เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  • เงิน ประมาณ 450 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 – 350 แล้วแต่ที่ + ค่าตรวจสภาพรถ 60 )

 

2. ต่อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ไปขนส่ง เพื่อยื่นจ่ายภาษีที่เคาน์เตอร์

  • บางขนส่ง ต้องเลื่อนล้อต่อภาษี ( จ่ายภาษีที่ตู้รับชำระภาษี ขณะนั่งอยุ่บนรถ )
  • บางขนส่งก็ หยิบบัตรคิว รอเรียกคิว จ่ายเงินภาษี

 

ต่อ พรบ แล้วฝาก ยื่นจ่ายภาษีด้วย (แบบจ้าง)

1. ไป ตรอ. ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ

  • สิ่งที่ต้องนำไป :
  • เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  • เงิน ประมาณ 550 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 ถึง 350 แล้วแต่ที่ + ค่าตรวจสภาพรถ 60 + ค่าฝากยื่นจ่ายภาษี 80 ถึง 100 แล้วแต่ที่ )

หมดแล้ว ! ข้อมูลสำหรับการต่อทะเบียนรถ พร้อมด้วย พรบ.  แต่เดี่ยวก่อนคุณลองเลื่อนลงมาข้างล่าง เพื่อจะได้ข้อมูลอีกสักหน่อยครับ

 

อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว ทาง ridshare ก็มีรายละเอียดที่ลงลึกสำหรับ คนที่อยู่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่)

ใครที่ไม่ได้อยู่จะต่อทะเบียนที่จังหวัดกรุงเทพ หรือจังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) สามารถข้ามไปอ่านตอนท้ายได้เลย

การต่อทะเบียนรถมอไซค์ ( ยื่นจ่ายภาษี ) พร้อม ต่อพรบ. ด้วยตัวเอง ที่จังหวัดกรุงเทพ ฉบับ ridshare

1. ไป ตรอ. ที่ขนส่ง จตุจักร  เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ

  • สิ่งที่ต้องนำไป :
  • เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  • เงิน ประมาณ 450 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 – 350 แล้วแต่ร้าน + ค่าตรวจสภาพรถ 60 )

ตรอ. จะอยู่ใน ขนส่ง เลย พอเข้าประตูก็ขับตรงไป แล้วเลี้ยวซ้าย (ถ้าจำไม่ผิด) หลังจากนั้นก็จะเจอ ตรอ. มีให้เลือกหลายร้านเลย ผู้ชมเลือกได้เลยว่าจะ ตรวจสภาพ และ ต่อ พรบ. ร้านไหนดี (ผมแนะให้ว่า เน้นที่ร้านคนน้อยๆ จะได้ไม่ต้องรอนาน ฮ่าๆ เพราะราคาก็ไม่ต่างกันมาก)

  • นำรถให้พนักงาน ตรวจสภาพหาก อายุเกิน 5 ปีสำหรับมอไซค์ หากไม่ถึง ไม่ต้องตรวจสภาพ
  • มานั่งรอเรียก เลขทะเบียนรถ เพื่อ ต่อ พรบ. พร้อมจ่ายเงิน ประมาณ 450 บาท
  • จะได้ เล่มทะเบียนรถ และพรบ. (เป็นซองจดหมายและมี พรบ. อยู่ด้านใน) พร้อมใบตรวจสภาพรถ (เก็บซอง พรบ. ไว้ให้เรียบร้อย ส่วนเล่มทะเบียน กับใบตรวจสภาพรถ นำไปต่อภาษีรถ)

2. ตรวจสภาพรถ และต่อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ไปที่เลื่อนล้อต่อภาษี (อยู่บริเวณ อาคาร 3 ไม่แน่ใจน่ะ)

  • ใบตรวจสภาพ
  • เล่มทะเบียน หรือสำเนา
  • เงินจำนวน 100 บาท แต่ถ้าหากภาษีขาดเกิน 1 เดือนจะต้องจ่ายเพิ่ม 1 บาท (101 บาท) ถ้า 10 เดือนก็ต้องจ่ายเพิ่ม 10 บาท (110 บาท)

ในส่วนการเลื่อนล้อต่อภาษี อาจจะต้องใช้เวลา รอหน่อยนึง เนื่องจากอาจจะมีคนมาใช้บริการเยอะ แต่ส่วนการยื่นภาษีนั้น ไม่นาน ประมาณ 5 นาที ก็เรียบร้อย

จะได้ กระดาษกรมการขนส่ง (สีชมพูขอบฟ้า) มาแผ่นนึง ของปีปัจจุบันที่ทำ >> นำไปแปะที่เรา ที่เห็นได้ชัดเจน

ผมมักจะแปะไว้ใต้เบาะ แล้วเอาเทปมาแปะทับ เผื่อป้องกัน ฝน หรือน้ำ ที่อาจจะทำให้ กระดาษนั้นฉีกขาดได้

จบละสำหรับการต่อทะเบียนที่จังหวัด กรุงเทพ

 

การต่อทะเบียนรถมอไซค์ ( ยื่นจ่ายภาษี ) พร้อม ต่อพรบ. ด้วยตัวเอง ที่จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) ฉบับ ridshare

1. ไป ตรอ. แถวๆ สามแยกคอหงส์ เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ

  • สิ่งที่ต้องนำไป :
  • เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  • เงิน ประมาณ 450 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 – 350 แล้วแต่ร้าน + ค่าตรวจสภาพรถ 60 )

ตรอ. จะอยู่ติดถนนใหญ่เลย ตรอ. มีให้เลือกอยู่ 2 ร้าน มีร้านแรก ที่เราขับรถมาถึงก่อน กับอีกร้านที่ขับรถเลยไปหน่อย ใกล้ 3 แยกคอหงส์ เลือกได้เลยว่าจะ ตรวจสภาพ และ ต่อ พรบ. ร้านไหนดี

  • นำรถให้พนักงาน ตรวจสภาพหาก อายุเกิน 5 ปีสำหรับมอไซค์ หากไม่ถึง ไม่ต้องตรวจสภาพ
  • มานั่งรอเรียก เลขทะเบียนรถ เพื่อ ต่อ พรบ. พร้อมจ่ายเงิน ประมาณ 450 บาท
  • จะได้ เล่มทะเบียนรถ และพรบ. (เป็นซองจดหมายและมี พรบ. อยู่ด้านใน) พร้อมใบตรวจสภาพรถ (เก็บซอง พรบ. ไว้ให้เรียบร้อย ส่วนเล่มทะเบียน กับใบตรวจสภาพรถ นำไปต่อภาษีรถ)

2. ตรวจสภาพรถ และต่อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ไปที่ขนส่ง 2 อยู่บริเวณ สถานีตำรวจคอหงส์ จะถึงก่อนสถานีตำรวจ

  • ใบตรวจสภาพ
  • เล่มทะเบียน หรือสำเนา
  • เงินจำนวน 100 บาท แต่ถ้าหากภาษีขาดเกิน 1 เดือนจะต้องจ่ายเพิ่ม 1 บาท (101 บาท) ถ้า 10 เดือนก็ต้องจ่ายเพิ่ม 10 บาท (110 บาท)

มาถึงจะไม่มีที่ให้จอดข้างหน้ากรมการขนส่ง 2 เราต้องกลับรถ ไปจอดที่บนดินว่างๆ สำหรับจอดรถ แต่จะอยู่ห่างจากขนส่ง นิดหน่อย เมื่อจอดรถมอไซค์เรียบร้อย ก็เดินไปที่อาคารขนส่ง

  • ขอบัตรคิว จากพนักงานด้านหน้า ที่หมายเลข 1
  • เข้าไปในห้องรอเรียกคิว
  • ชำระภาษีที่เคาน์เตอร์ (ไม่แน่ใจว่าเป็น เคาน์เตอร์ 1 กับ 3 หรือปล่าว ตอนไปทำตอนนั้น ช่วงเที่ยง ชำระที่เคาน์เตอร์ 3)

อาจจะใช้เวลานิดนึง ถ้าช่วงนั้นเรามาใช้บริการ แล้วคนเยอะ ตอนผมไปทำ ก็รออีก 20 คิว ก็นั่งรอประมาณ ครึ่ง ชม. ถ้าว่างเช้าๆ ก็จะดีน่ะครับ คนน่าจะน้อยอยู่

จะได้ กระดาษกรมการขนส่ง (สีชมพูขอบฟ้า) มาแผ่นนึง ของปีปัจจุบันที่ทำ >> นำไปแปะที่เรา ที่เห็นได้ชัดเจน

ผมมักจะแปะไว้ใต้เบาะ แล้วเอาเทปมาแปะทับ เผื่อป้องกัน ฝน หรือน้ำ ที่อาจจะทำให้ กระดาษนั้นฉีกขาดได้

จบละสำหรับการต่อทะเบียนที่จังหวัด สงขลา (หาดใหญ่)

 

แต่ปัจจุบันนี้มีการต่อทะเบียนรถมอไซค์ และรถยนต์ออนไลน์ได้แล้ว แต่ทาง ridshare ยังไม่ได้ทดลองต่อ ไว้ลองต่อผ่านออนไลน์เมื่อไร จะนำมาแชร์ต่อครับ หรือถ้าใครเคยต่อผ่านออนไลน์ แล้วอยากจะแชร์ข้อมูล อยากเล่าให้ฟังก็สามารถส่งมาที่ แฟนเพจ ridshare ได้ครับ > ridshare fanpage

 

จบแล้วสำหรับข้อมูลการต่อทะเบียนรถมอไซค์ ผมเคยเห็นคน จ้างเขาไปต่อให้ บางทีค่าจ้างไปต่อให้ ราคาก็ 2 เท่า จากราคาจริงเลยละครับ ดังนั้น ถ้าว่าง ก็ไปต่อเองดีกว่าครับ

อ่านข้อมูลที่ทาง ridshare นำมาบอกจนหมดเปลือกขนาดนี้แล้ว เลือกเวลาไปเช้าๆ หน่อย ก็น่าจะไม่เกิน ครึ่ง ชม. รวมตรวจสภาพรถ ต่อพรบ. และจ่ายภาษีรถ

 

หากอ่านแล้วถูกใจ ชอบใจ อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน หากผิดพลาดข้อไหน ส่วนไหน สามารถติ บอกได้ หรืออยากให้ปรับปรุงตรงส่วน แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *