How Toทั่วไป

ต่อใบขับขี่มอไซค์ จาก 5 ปี เป็น 5 ปี ต้องใช้เอกสาร และ มีขั้นตอนยังไงบ้าง ?

ต่อใบขับขี่มอไซค์ ประเภท 5 ปี ต้องการมีทดสอบสรรถภาพ และอบรมสักหน่อย เพราะว่าห่างหายจากการทำไปตั้ง 5 ปีเต็มๆ (ขั้นตอนจะทำมากกว่า ประเภทที่ 2 การต่อ 1 ปี เป็น 5 ปี)

ดังนั้นมาทำครั้งนี้อาจจะลืมมาดูกันว่าใช้อะไรบ้าง ทาง ridshare ได้จัดเตรียมข้อมูลไว้สำหรับคุณผู้อ่านไว้แล้ว เชิญอ่านได้เลยครับ

 

3. ประเภทต่อใบขับขี่มอไซค์ เนื่องจากใบขับขี่อายุครบ 5 ปี ต่ออายุเพิ่มอีก 5 ปี

สิ่งที่ต้องเตรียมมา
  • ใบขับขี่มอไซค์เดิม (บัตรเก่า)
  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • เงินจำนวน 300 – 500 บาท
ขั้นตอนการติดต่อขอต่ออายุใบขับขี่มอไซค์ ประเภท 5 ปี เป็น 5 ปี
  1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขอต่ออายุใบขับขี่มอไซค์
  2. กรอกแบบฟอร์มให้เรียบร้อย (ประเภทใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี)
  3. ยื่นแบบฟอร์มให้เจ้าหน้าที่ เพื่อรอทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้น
    • ทดสอบตาบอดสี (บอกสี ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้ > มีสีแดง, เขียว, เหลือง )
    • ทดสอบสายตาทางลึก (เลื่อนปุ่มแท่งให้อยู่ระยะเสมอกันมากที่สุด)
    • ทดสอบสายตาทางกว้าง (เอาจมูกวางตรงช่องว่าง แล้วใช้หางตา ระบุสี)
    • ทดสอบการตอบสนองของเท้า (เหยียบคันเร่ง และเหยียบเบรค)
  4. ลงชื่อเพื่อรออบรม และอบรมสร้างสำนึกในการขับขี่รถบนท้องถนน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
  5. หากใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องสอบข้อเขียน
    • หากใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียน
    • หากใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียน ต้องสอบขับรถใหม่ และใบรับรองแพทย์
  6. ถ่ายรูปเพื่อทำบัตร ชำระเงิน รับบัตร แล้วกลับบ้านได้
หมายเหตุ
  • บัตรที่ได้มา มีอายุ 5 ปี
  • สอบข้อเขียน จะเป็นแบบ ปรนัย (กากบาท) จำนวน 50 ข้อ ต้องผ่าน 45 ข้อ ถ้าไม่ผ่านมาสอบใหม่วันหลัง
  • สอบขับขี่รถต้องผ่าน 5 ด่าน ถ้าไม่ผ่านต้องมาสอบใหม่วันหลัง
  • หากเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล หรือที่อยู่ ต้องแนบหลักฐานเพิ่มเติมมาประกอบด้วย
  • สามารถต่ออายุล่วงหน้าได้ 90 วัน

 

จบละครับ สำหรับการต่ออายุใบขับขี่ ประเภท จาก 5 ปี เป็น 5 ปี ต้องมีการอบรมเพื่อสร้างสำนึกกันสักหน่อย เพราะ ผ่านไปตั้ง 5 ปีกันเลยทีเดียว บางทีก็ลืมๆ กันหมดแล้ว ว่าการขับบนท้องถนนที่ถูกกฎหมายเป็นอย่างไร ขับแบบไหนถึงจะปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายแก่ผู้อื่น

 

ล่าสุด ทาง ridshare ก็พึ่งไปต่อแบบอายุใบขับขี่ประเภทนี้มา ก็เลยนำมาแชร์ประสบการณ์เล่า ทั้ง 3 แบบให้ฟังกันเลย โดยที่แยกเป็น 3 ส่วน 3 หน้า เพราะเกรงว่าถ้าเนื้อหายาวเกินไปในหน้าเดียวนั้น คุณผู้ชมก็ไม่อยากจะอ่านกันใช่ไหมครับ ผมก็เป็นแบบนั้น (ยิ้ม ผสมฮา)

 

ทาง ridshare เองก็หวังว่าบทความทั้ง 3 หน้านี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากถูกใจ ฝากกดไลค์ กดแชร์บทความให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันด้วยน่ะครับ เผื่อเพื่อนๆ ยังไม่ทราบหรือว่าลืมว่า ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ขั้นตอนมีไรบ้าง เป็นต้น

ฝากติดตามบทความของทาง ridshare กันต่อไปน่ะครับ ขอบคุณครับ

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ กรมการขนส่งทางบก

บทความต่อเนื่อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *